เริ่มภาษาเยอรมันด้วยตัวเอง How to easy Deutsch. Jira 2 years ago ตัวอักษรภาษาเยอรมัน มี 26 ตัว ตัวอักษรพิเศษที่เรียกว่า Umlauts : (อุมเล๊าทฺ) การกำหนดช่วงเวลาGuten Morgen : 6 Uhr – 11 UhrGuten Tag : 11 Uhr – 18 UhrGuten Abend : 18 Uhr -…… ภาษาเยอรมันมีอักษร (Alphabet) 26 ตัวอักษรตัวอักษรพิเศษที่เรียกว่า Umlauts : (อุมเล๊าทฺ)Ä ä แอรฺÖ ö อือÜ ü อูวss = ß เอ็ส-เซ็ท Der Artikel คำนำหน้านามDas Nomen (Substantiv) คำนามDas Verb คำกริยาDas Adjektiv คำคุณศัพท์Die Präposition คำบุพบทDie Konjunktion คำสันธานDas Adverb คำกริยาวิเศษณ์Das Pronomen คำสรรพนามDie Interjektion คำอุทาน คำนำหน้านาม บ่งบอกเพศของคำศัพท์Maskulin เพศชายNeutral เพศกลางFeminin เพศหญิงPlural พหูพจน์ 1.ใช้แทนคำนาม2.คุณสามารถแทนที่คำนามทั้งหมดด้วยคำสรรพนามส่วนบุคคล แม้กระทั่งคำนามที่ไม่ใช่บุคคล ในบุรุษที่3 เอกพจน์ (er, sie, es) สรรพนามส่วนบุคคลจะขึ้นอยู่กับเพศ ของคำนาม3.เมื่อพูดคุยกับผู้คน ให้ใช้:3.1) อย่างไม่เป็นทางการ (du, ihr) กับลูก, ญาติ, เพื่อนและคนรู้จักที่สนิท3.2) คำทักทายอย่างเป็นทางการ (Sie) สำหรับคนอื่น ๆ ได้ทั้งหมด 4. การเขียน4.1) คำทักทายอย่างเป็นทางการ (Sie,Ihnen,Ihre E-Mai ฯลฯ)เป็นตัวพิมพ์ใหญ่ เช่น ในอีเมลหรือจดหมาย4.2) คำทักทายที่ไม่เป็นทางการ (du/Du,dir/Dir, deine/Deine Emailฯลฯ ) สามารถเขียนเป็นตัวพิมพ์เล็กหรือตัวพิมพ์ใหญ่ได้ คำกริยาคือคำที่บอกอาการหรือการกระทำ และบอกความเป็นอยู่หรือสภาวะความเป็นอยู่ของนามในประโยคนั้น ๆกริยาแท้คือกริยาที่ประธานเป็นผู้กระทำ1.กริยาที่ต้องมีกรรมมารองรับเรียกว่า สหกรรมกริยา (Transitive Verben)Ich esse Reis. (ฉันกินข้าว)2. กริยาที่ไม่ต้องมีกรรมมารองรับเรียกว่า อกรรมกริยา(Intransitive Verben)Ich schlafe. (ฉันนอนหลับ)กริยาช่วยหมายถึงกริยาที่ทำหน้าที่ช่วยกริยาตัวอื่นเพื่อทำให้ประโยคสมบูรณ์ขึ้น มี 3 ตัวคือ sein, haben, werden เช่นWo bist du gewesen?bist = กริยาช่วยใช้คู่กับgewesen ( verb ช่อง 3 ของกริยา sein) เพื่อบ่งการ Perfekt (อดีต) ในการผันกริยาในกาลปัจจุบัน เราลบการลงท้ายแบบอินฟินิตี้ -en และเพิ่มการลงท้ายต่อไปนี้: Präposition คือคำที่ใช้วางอยู่หน้าคำนามหรือคำสรรพนาม เพื่อแสดงความสัมพันธ์ของมันกับคำอื่น ๆ ในประโยคเพื่อบอกเวลา สถานที่ ทิศทาง ฯลฯ ซึ่ง ในเนื้อหานี้เราจะกล่าวถึง1.Präposition mit Dativ คำบุพบทที่ใช้กับกรรมรอง2.Präposition mit Akkusativคำบุพบทที่ใช้กับกรรมตรง3.Präpositionen mit Akkusativ oder Dativ ใช้ได้ทั้งกรรมตรงและกรรมรอง (Wechselpräpositionen) ตัวย่อan dem =aman das = ansauf das =aufsin dem = imin das = insbei dem = beimvon dem = vomzu dem = zumzu der = zur Modalverben คือคำกริยาช่วยพิเศษทำหน้าที่ผันตามประธาน อยู่ส่วนที่สองของประโยคและกิริยาตัวจริงจะอยู่ท้ายสุดของประโยค โดยไม่ต้องผันเรียกว่า Infinitivmüssen ต้องmögen/ möchtenชอบ, อาจจะ, อยาก, ต้องการkönnen สามารถdürfen ได้รับอนุญาตsollen แปลว่า น่าจะ หรือ ควรจะwollen แปลว่า ต้องการ ประโยคคำสั่งเป็นรูปของกริยาที่ใช้ในการสั่ง อาจจะใช้เป็นคำขอร้องหรือคำแนะนำก็ได้แบ่งเป็น 3 กลุ่มคือ1.แบบกันเองเอกพจน์ ใช้ du (เธอ)2. แบบกันเองพหุพจน์ ใช้ ihr (พวกเธอ)3.แบบสุภาพใช้ Sie (คุณ)